วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2554

วิชาการขาย

การจัดการเกี่ยวกับอาชีพ

                การจัดการเกี่ยวกับอาชีพ  การตัดสินใจเลือกธุรกิจที่จะลงทุน      ต้องเริ่มต้นอยู่ที่ความสนใจในสิ่งที่ตนเอง
มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับงานอาชีพนั้น  ธุรกิจที่เลือกจะต้องตอบสนองความต้องการของตลาด  มีศักยภาพ
ที่มุ่งสู่ความสำเร็จ       โดยการจัดการคุณภาพเกี่ยวกับความพร้อมของตนเอง   การจัดการเงินทุน    การจัดการบุคคล 
การจัดการตลาด  และการบริหารเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เป้าหมายในชีวิตของบุคคล    
                ทุกคนย่อมมีเป้าหมายในชีวิตแตกต่างกันออกไป    บางคนต้องการให้ตนเองร่ำรวย   มีเงินทองให้มากที่สุด 
จึงพยายามประหยัดและเก็บออม บางคนต้องการให้มีชีวิตครอบครัวที่ดีและมีสุข ให้ลูกทุกคนมีการศึกษาดี มีงานทำ
ที่ดี   หรือบางคนต้องการการยอมรับของสังคม  แม้ว่าแต่ละคนจะกำหนดเป้าหมายชีวิตไว้แตกต่างกัน       โดยทั่วไป
การกำหนดเป้าหมายในชีวิตของบุคคลมีดังนี้
                1.  เป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับเงิน  เป็นเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับเงินของบุคคล  ซึ่งจะมีผลให้ฐาสนะการเงินของ
บุคคลเกิดการเปลี่ยนแปลง    เช่น   ให้มีฐานะการเงินดี  มีความเป็นอยู่ดีขึ้น  เป้าหมายการเงินจะบรรลุความสำเร็จได้
ต้องมีการวางแผนการเงินที่ดี  คือ  การารู้จักจัดทำงบประมา๕ณ โดยควบคุมการใช้เงินอย่างถูกต้องตามแผนที่วางไว้
 เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายทางการเงินของแต่ละบุคคล   เช่น    มีเงินเพียงพอในการซื้ออุปกรณ์การเรียนของตนเอง 
และใช้ในการศึกษา  หรือมีเงินเพียงพอต่อการใช้จ่ายในวัยเกษียณอายุราชการ ฯลฯ
                2.  เป้าหมายที่ไม่เกี่ยวข้องกับเงิน   เงินไม่ใช่สิ่งสำคัญที่สุดของชีวิต  บางครั้งเงินจึงไม่ใช่สิ่งที่บุคคลมุ่งหวัง
เสมอไป       แต่บางคนการยอมรับของสังคม  เกียรติยศ  ศักดิ์ศรี  ศีลธรรมและศาสนาหรือความสุขภายในครอบครัว 
อาจจะมีความสำคัญมากกว่าเงินก็ได้
บทบาทของผู้บริหาร
                การจัดการเกี่ยวกับอาชีพให้ประสบผลสำเร็จ   ผู้ประกอบการหรือผู้บริหารระดับสูงจะต้องมีบทบาท
หลายด้าน  ประการแรกคือ  ต้องยอมรับและผูกพันสำหรับการจัดการ 14 ประการ คือ
             1.              ตั้งเป้าหมายปรับปรุงคุณภาพสินค้า และบริการอย่างสม่ำเสมอ
               2.              ยอมรับการเปลี่ยนแปลง  เพื่อให้องค์กรมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
               3.              การทำให้บรรลุเป้าหมายคุณภาพแทนการตรวจคุณภาพ
               4.              เน้นการประเมินต้นทุนทั้งหมดทุกครั้งที่ซื้อวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนการผลิตจากภายนอก
               5.              ปรับปรุงระบบการผลิตและการให้บริการอย่างสม่ำเสมอ
               6.              จัดให้มีการฝึกฝนอบรมในขณะทำงาน  เพราะการฝึกอบรม  คือการเรียนรู้ที่ไม่มีวันสิ้นสุด
               7.              ยอมรับและสร้างวิธีการที่ทันสมัยให้กับหัวหน้างานและการเป็นผู้นำ  การจัดการคุณภาพต้องเปลี่ยนบทบาทของหัวหน้างานจากการสั่งการและคาดหวังว่าลูกน้องจะทำตามคำสั่งไปเป็นผู้ฝึกสอน  และอำนวยความสะดวกคอยให้โอกาสสนับสนุนและให้แก้ไขปัญหาด้วยตนเอง
            8.              ขจัดความกลัว  ความกลัวเป็นอุปสรรคสำคัญของการปรับปรุงคุณภาพ  เป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนแปลงและความอยู่รอดขององค์กร  ทำให้พนักงานไม่กล้าถามหรือแสดงความคิดเห็น  ผู้บริหารต้องแสดงให้เห็นว่าวิธีการจัดการใหม่ ๆ เป็นโอกาสก้าวไปสู่ความสำเร็จได้มากกว่าวิธีการเดิม ๆ
           9.              ทำลายอุปสรรคระหว่างหน่วยงาน  องค์กรหลายแห่งประสบความล้ม เหลว  เพราะมองปัญหาจำกัดอยู่
เพียงบางสายงาน  ไม่ให้ความสนใจสายงานอื่นๆ  ทำให้ผลงานดีเฉพาะบางกลุ่มหรือบางฝ่ายเท่านั้น    แต่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงองค์กรได้ทั้งหมด  ต้องแก้ไขด้วยการสร้างความร่วมมือระหว่างฝ่ายต่าง ๆ
          10.       ขจัดการให้ขวัญ  การติดโปสเตอร์และป้ายแนะนำ  เพราะข้อความที่ใช้อาจจะเป็นการดูถูกพนักงานมากกว่าฃฃ
จะเป็นการกระตุ้นให้เกิดกำลังใจ  ผู้บริหารควรหาวิธีการทำงานที่ดี  ให้เครื่องมือที่ดีและฝึกอบรมพนักงานอย่างต่อเนื่อง
          11.       เลิกใช้มาตรฐานการทำงานและตัวเลขโควตา  เพราะการใช้มาตรฐานที่เป็นตัวเลข  เช่น  การกำหนดยอดขายหรือโควตาขาย  หากกำหนดมาตรฐานไว้สูงจนเกินไปจะทำให้พนักงานเกิดความกลัว  ท้อแท้  และพยายามต่อรองหรืเพื่อให้ลดมาตรฐาน
          12.       ขจัดอุปสรรคที่ทำงายความภาคภูมิใจของพนักงาน
          13.       จัดให้มีการศึกษาและฝึกอบรมแก่พนักงาน  โดยให้การฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง  จะช่วยให้พนักงานมีข้อมูลที่ทันสมัยเกี่ยวกับการทำงาน  ผลิตภัณฑ์และบริการ
          14.       กำหนดความผูกพันที่ยาวนานของผู้บริหารระดับสูงที่มีต่อการปรับปรุงคุณภาพและประสิทธิภาพของการผลิตตลอดไป
          เมื่อผู้บริหารยอมรับและผูกพันสำหรับการจัดการดังกล่าวแล้ว  จะต้องลงมือปฏิบัติดังนี้
                  1.   วางแผน  หมายถึง  การวางแผนใช้ข้อมูลที่มีอยู่หรือข้อมูลใหม่  นำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อกิจการ
                  2.   กระทำ   หมายถึง  การลงมือปฏิบัติโดยการนำเอาแผนที่วางไว้ไปปฏิบัติ
                  3    ตรวจสอบ  หมายถึง  การตรวจสอบหรือสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยเพียงใด  เป็นไปในทิศทางใด.

4.             



และศึกษาดูผลลัพธ์แล้ว    อาจจะไม่เป็นไปตามที่วางแผนไว้หรือตามที่ต้องการ     จึงควรหาวิธีการแก้ไขใหม่ตาม
ความจำเป็น  และสรุปเป็นพื้นฐานในการคิดหาวิธีการใหม่ ๆ ต่อไปโดยไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งจะต้องกระทำทั่วทั้งองค์กร

ปัจจัยการจัดการธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ
              1.              สร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขัน  ผู้ประกอบการจะต้องแข่งขันกับธุรกิจอื่น ๆ  โดยมีความยืดหยุ่นใน
การตัดสินใจ  พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาด  สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างใกล้ชิดให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจในสินค้าและบริการ  ซึ่งจะนำไปสู่การใช้บริการซ้ำของลูกค้า  และรักษาคุณภาพของสินค้า
              2.              บริหารจัดการเกี่ยวกับปัจจัยต่าง ๆ  ที่เกี่ยวข้องต่อความสำเร็จ  คือ
                         2.1  เงินทุน   คือ สิ่งสำคัญของการทำธุรกิจ    หากมีเงินทุนไม่เพียงพอ จะทำให้เกิดปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน  ผู้ประกอบการวางแผนการหาแหล่งเงินทุน  เช่น เงินทุนส่วนตัว  เงินกู้ยืมจากธนาคารหรือผู้ยืมจากญาติพี่น้อง
                        2.2  พนักงาน   ปัญหาสำคัญของการจัดการธุรกิจ  คือ   มีการเข้าออกของพนักงานในอัตราสูง  ทำให้องค์กรขาดพนักงานที่มีความรู้และทักษะ  ผู้ประกอบการจึงต้องมีวิธีการหาคนดีมาทำงานร่วมกับ ให้ขวัญและกำลังใจแก่พนักงานอย่างเหมาะสม    ตลอดจนมีการพัฒนางานด้วยการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง
                       2.3  การตลาด  การมีความรู้และเทคนิคด้านการตลาด  จะทำให้ผู้ประกอบการทราบความต้องการของลูกค้า  รสนิยม  รายได้ ฯลฯ  เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขัน
                      2.4  ข้อมูลสำหรับผู้บริหาร  สิ่งสำคัญสำหรับผู้บริหารคือต้องศึกษาข้อมูลต่าง ๆ  อย่างรอบคอบ เพื่อตัดสินใจดำเนินงาน  โดยการศึกษาข้อมูลด้วยตนเอง    หรือขอคำแนะนำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มีประสบการณ์ที่ประสบความสำเร็จ
                     สรุป   มีธุรกิจจำนวนไม่น้อยที่ประสบความล้มเหลวในการดำเนินงาน  ทำให้ผู้ประกอบการสูญเสียเงินทุน  เกิดภาระหนี้สิน   ในด้านจิตใจ  เกิดความผิดหวังท้อแท้   ด้านสุขภาพร่างกายทุดโทรม  ด้านเศรษฐกิจและสังคมมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมโดยรอบ  มีอัตราการว่างงาน

สาเหตุของความล้มเหลวของธุรกิจ
                การจัดการเกี่ยวกับอาชีพหรือการดำเนินธุรกิจ  มีสาเหตุของความล้มเหลวอยู่   2  ประการ  คือ
                1.  ปัญหาด้านการจัดการ  เป็นความล้มเหลวที่สำคัญ   จากความสามารถในด้านการจัดการของผู้ประกอบ
ธุรกิจนั่นเอง       สาเหตุเกิดจากขาดประสบการณ์ในการดำเนินงานและไม่มีทักษะในการจัดการ    ผู้ประกอบการที่
ประสบความสำเร็จต้องมีความสามารถในการขายและการบริการ  การเก็บข้อมูล  การจัดทำบัญชี ฯลฯ
                2.  ปัญหาด้านการเงิน   คือ  ขาดแคลนเงินทุน  ไม่มีระบบการควบคุมทางการเงินที่ดี       มีการรั่วไหลของ
ค่าใช้จ่าย  หรือมีค่าใช้จ่ายมากเกินไป  ทำให้ขาดสภาพคล่องทางการเงิน  จึงเป็นจุดอ่อนของการจัดการหรือปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ  คือ จ่ายดอกเบี้ยสูง  ยอดขายต่ำ  ขาดทุนจากการดำเนินงาน ฯลฯ 
                นอกจากนี้  ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้ธุรกิจประสบความล้มเหลว  ได้แก่  ขาดแคลนบุคลากรที่มีความสามารถ  ขาดเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ  ขาดสิ่งอำนวยความสะดวกในการทำงาน  ปัญหาการควบคุมสินค้าคงคลัง ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเกิดจากการจัดการที่ผิดพลาด
ลักษณะของการประกอบธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
                ผู้ประกอบธุรกิจที่มีการเตรียมตัวที่ดีย่อมประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ   ดังนั้น  จึงควรเตรียมตัวและเตรียมความพร้อม ดังนี้
              1.     เตรียมตัว  ได้แก่  การเตรียมสุขภาพให้มีความแข็งแรง  เตรียมเงินทุน  เตรียมจิตใจ  กล้าเสี่ยง  กล้าตัดสินใจ  รับผิดชอบ  ตรงต่อเวลา  มีมนุษยสัมพันธ์ ฯลฯ
              2.      จัดตั้งกิจการ  โดยพิจารณารูปแบบการดำเนินงานให้มีความเหมาะสมกับวัตถุประสงค์และการปฏิบัติ
              3.      จัดหาสถานที่ตั้งของสถานประกอบการ
             4.        จัดระบบการควบคุมการดำเนินงาน
             5.        ศึกษาความเป็นไปได้ของธุรำกิจว่าจะคุ้มค่าต่อการลงทุนหรือไม่
             6.        ศึกษาความต้องการของตลาดและคู่แข่งขัน
             7.        จ้างพนักงานจะใช้วิธีการคัดเลือกอย่างไร
             8.        วางแผนดำเนินงาน
การประเมินความพร้อมที่จะเป็นผู้ประกอบการ
               การที่จะประสบความสำเร็จในงานอาชีพได้  ผู้ประกอบการควรประเมินความพร้อม ดังนี้
                1.  ความพร้อมส่วนบุคคล   ผู้ที่จะเข้าสู่อาชีพธุรกิจ  ควรมีคุณลักษณะ ดังนี้
                                1.1  มีเป้าหมายการทำงานที่ชัดเจน
                                1.2  มีประสบการณ์
                                1.3  พร้อมที่จะทำงานหนัก
                                1.4   มีสุขภาพกายและจิตใจดี
                                1.5   มีความมั่นใจในตนเองและเข้าใจจุดอ่อนของตนเอง                 
                                1.6   ตัดสินใจได้รวดเร็วและถูกต้อง
                                1.7   มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
                                1.8   เต็มใจที่จะปฏิบัติงานทุกอย่าง
                                1.9   ชอบทำงานที่เกี่ยวข้องกับคน
                                1.10  สนุกกับการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ
                                1.11  เต็มใจที่จะปรับการดำเนินชีวิตของตนเองให้สอดคล้องกับความต้องการของธุรกิจ
                                1.12  ไม่ย่อท้อต่อปัญหาและอุปสรรค
                                1.13  สามารถแยกปัญหาของธุรกิจและอาชีพออกจากชีวิตส่วนตัวและครอบครัวได้
                                1.14  ได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว
                2.  การเงิน    ผู้ประกอบการจะต้องมีความสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับฐานะทางการเงินของธุรกิจโดยรู้ว่าจะหาเงินทุนจากแหล่งใด   ยอดขาย  ผลกำไรและเป้าหมายของความสำเร็จที่ผู้ประกอบการต้องการ  ดังนั้น  คุณสมบัติทางการเงินของผู้ประกอบการที่ควรจะมี  คือ
                                2.1   มีเงินทุนหรือหาแหล่งเงินทุนได้เมื่อมีความจำเป็น
                                2.2   คาดคะเนรายรับ  รายจ่าย  และกำไรได้
                                2.3   บันทึกทางการเงิน  จัดทำงบการเงิน และนำข้อมูลไปใช้บริหารจัดการได้
                                2.4   จัดเตรียมงบประมาณ และยึดถืองบประมาณเพื่อดำเนินการได้          
                                2.5   แบ่งแยกการใช้เงินส่วนตัวและเงินทุนสำหรับดำเนินธุรกิจได้
                                2.6   ดำเนินชีวิตให้เป็นที่ยอมรับแของสังคมและใช้จ่ายให้เหมาะสม
                3.  การตลาด  ผู้ประกอบการต้องให้ความสนใจงานด้านการตลาดเป็นพิเศษ   เพราะเป็นช่องทางที่ก่อให้เกิดรายได้  จึงจำเป็นต้องรู้จักสินค้าและบริการ  การกำหนดราคา  การจัดจำหน่าย และการส่งเสริมการขาย  ดังนั้น  คุณสมบัติด้านการตลาดของผู้ประกอบการที่ควรจะมี คือ
                                3.1  ประเมินความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
                                3.2  วิเคราะห์คู่แข่งขัน
                                3.3  สามารถใช้กลยุทธ์ด้านสินค้า  ราคา    การจัดจำหน่าย  แลการส่งเสริมการขาย  ตลอดจนแสวงหากลบยุทธ์ใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าอยู่เสมอ
                                3.4  ทำการวิจัยตลาด
                4.  การจัดการทั่วไป     ในการจัดการหรือการกบริหารเกี่ยวข้องกับการวางแผนการใช้ทรัพยากร      การเงิน 
บุคลากร  และวัสดุอุปกรณ์ของธุรกิจ รวมทั้งการจัดคนเข้าทำงาน  การสั่งการพนักงาน  และการควบคุมการปฏิบัติงานให้สำเร็จตามป้าหมายที่กำหนด  ดังนั้นผู้ประกอบการต้องมีความสามารถ  ดังนี้
                              4.1       กำหนดนโยบายและระเบียบปฏิบัติ
                        4.2       มีทักษะด้านการจัดการหรือการบริหาร
                        4.3       มีความสามารถเกี่ยวกับการมอบหมายอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบให้ผู้ร่วมงาน
                        4.4       สามารถตัดสินใจได้
                        4.5       ให้พนักงานมีส่วนร่วมในความสำเร็จของธุรกิจ
                        4.6       มีวิธีการตัดเลือกบุคลากรที่มีความสามารถและเต็มใจทำงาน
                        4.7       สามารถจูงใจบุคลากรให้ทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้
                        4.8       มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร
การจัดการหรือบริหารบุคคล
                ในการจัดการธุรกิจ  การบริหารหรือการจัดการบุคคลเป็นเรื่องสำคัญ  เพราะองค์กรธุรกิจจะประสบความสำเร็จได้  ขึ้นอยู่กับความสามารถในการสรรหาบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ  มีคุณสมบัติเหมาะสมที่สุดกับงานที่ทำ  ตลอดจนการสร้างแรงจูงใจที่เหมาะสม  เพื่อให้บุคลากรปฏิบัติงานได้อย่างเต็มกำลังความสามารถ ซึ่งเป็นประโยชน์สูงสุดให้ธุรกิจ
                วัตถุประสงค์ของการบริหารบุคคล  มีดังนี้
             1.              แสวงหาบุคคลที่มีความรู้ความสามารถเหมาะสมกับงานเข้ามาร่วมงาน
             2.              พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในด้านต่าง ๆ  สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
             3.              จูงใจและรักษาบุคลากรที่ดีมีความสามารถให้อยู่กับธุรกิจได้นาน
             4.              ใช้บุคลากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
แนวทางการจัดการหรือบริหารงานบุคคล
                ผู้ประกอบการจะต้องมีความสามารถในการจัดการบุคลากรในหน่วยงานได้  โดยปฏิบัติดังนี้
                1.  วิเคราะห์งาน   สำหรับการจัดหาบุคคลเข้ามาทำงานนั้น  ผู้บริหารควรสอบถามความต้องการของหน่วยงานต่าง ๆ ว่ามีความต้องการในตำแหน่งงานอะไรบ้าง  คุณสมบัติของผู้สมัครและขอบเขตของงาน    การวิเคราะห์งานจึงเป็นเรื่องของการกำหนดลักษณะงาน  วิธีการดำเนินงาน  ขอบเขตความรับผิดชอบและคุณสมบัติของผู้ปฏิบัติงาน 
                2.  วางแผนกำลังคน   เป็นการาคาดคะเนความต้องการกำลังคนของธุรกิจไว้ล่วงหน้า  เพื่อเตรียมการจัดหาและพัฒนาบุคลากร  รวมทั้งใช้ประโยชน์จากกำลังคนในหน่วยงานให้ได้ประโยชน์มากที่สุด
                3.  การสรรหาพนักงาน    เมื่อได้วิเคราะห์ลักษณะงานและคุณสมบัติของผู้ปฏิบัติงานแล้ว  จะนำข้อมูลที่ได้
รับมาวางแผนเพื่อกำหนดตำแหน่งงาน  จำนวนที่ต้องการ    และสรรหาพนักงาน    โดยการค้นหาบุคคลและพยายาม
ชักจูงใจบุคคลที่มีความรู้ความสามารถให้เข้ามาร่วมงาน      ซึ่งอาจจะเป็นบุคคลจากภายในหรือภายนอกองค์กรก็ได้
                4.  การคัดเลือก เป็นกระบวนการพิจารณาความรู้ ความสามารถ   และความเหมาะสมของผู้สมัครที่ผ่านการสรรหามาแล้ว  เพื่อให้ได้บุคคลที่มีความรู้ความสามารถมากที่สุด  กระบวนการคัดเลือกเริ่มต้นจากการรับสมัคร  การ
สัมภาษณ์ขั้นต้น  การกรอกแบบฟอร์มใบสมัคร  การคัดเลือกโดยการสอบหรือการสัมภาษณ์  การสอบประวัติ  การตรวจสอบทางร่างกาย  และการบรรจุแต่งตั้งต่อไป
            5.     การฝึกอบรม      เนื่องจากกระบวนการคัดเลือกเป็นเพียงการกลั่นกรองคัดผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมจากกลุ่ม
ผู้สมัครในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ  จึงมีโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดได้ง่าย  ผู้ประกอบการจึงต้องมีหน้าที่ฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรในตำแหน่งต่าง ๆ  ให้สามรถทำงานตามที่มอบหมายได้  การฝึกอบรมควรกระทำอย่างต่อเนื่อง  เพื่อให้บุคลากรได้รับความรู้ใหม่ ๆ และทันต่อเหตุการณ์
                6.  การจูงใจ   เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การปฏิบัติงานประสบความสำเร็จ  เกิดจากการชักนำให้บุคคลอื่นคล้อยตามและปฏิบัติตามวัตถุประสงค์  ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากภายในและภายนอกตัวบุคคล   การจูงใจจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การปฏิบัติงานประสบผลสำเร็จ     เพราะทำให้พนักงานเกิดความขยัน    กระตือรือร้น          มีความตั้งใจและมีทัศนคติที่ดี         มีความจงรักภักดีต่อองค์กร  การจูงใจทำได้หลายวิธี  คือ  การให้ค่าตอบแทน  เช่น  เงินเดือน  โบนัส  การให้รางวัลตอลบแทนที่ตีค่าเป็นเงินได้  เช่น  การเลื่อนตำแหน่ง  การให้สวัสดิการ  การให้รางวัลตอบแทนที่ไม่ใช่เงิน  เช่น  การยกย่องชมเชย  การพัฒนาความรู้ความสามารถ  เป็นต้น                                        
             7.  การจ่ายค่าตอบแทน  ค่าตอบแทนจากการทำงานมีความสำคัญต่อพนักงาน  เช่น   เงินเดือน    ค่าจ้าง
ค่านายหน้า  โบนัส  ค่าเช่าบ้าน   ค่าตอบแทน   จึงมีผลต่อการจูงใจ    เป็นขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของ
พนักงาน  และยึดเหนี่ยวให้พนักงานจงรักภักดีต่อกิจการตลอดไป
                8.   การส่งเสริมสุขภาพและความปลอดภัย  บุคลทากรหรือพนักงานเป็นทรัพยากรสำคัญขององค์กร จึง
จำเป็นต้องดูแลเอาใจใส่ให้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง  โดยดูแลสุขภาพด้วยการจัดการสิ่งแวดล้อม    ไม่ให้เป็นภัย
ต่อสุขภาพและดูแลการทำงานให้มีความปลอดภัย    อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือให้ถูกวิธี    และการ
ป้องกันภัย    การส่งเสริมสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน    จะลดอัตราการเข้าออกของพนักงาน      ลด
การเสียเวลาในการปฏิบัติงาน 
                9. วินัยและการร้องทุกข์ แม้ว่าองค์กรจะมีกาคัดเลือกพนักงานอย่างดีที่สุด  มีการฝึกอบรมและจูงใจที่ดีแล้ว  บางครั้งพนักงานอาจจะมีปัญหาในการทำงาน  เช่น  ไม่รับผิดชอบในการทำงาน  ผลงานด้อยคุณภาพ  ฝ่าฝืนกฎระเบียบขององค์กร  ผู้บริหารจึงจำเป็นต้องรักษาวินัยและการลงโทษตามความหนักเบาของความผิด เช่น  การตักเตือน  ภาคทัณฑ์  การลดขั้นเงินเดือน  ให้ออก  ปลดออก  และไล่ออก
                10. การประเมินผลการปฏิบัติงาน  หลังจากที่พนักงานทำงานแล้วระยะหนึ่ง  เช่น  ช่วงสิ้นสุดระยะเวลาการทดลองงานจะมีการประเมินผลงานเพื่อพิจารณาบรรจุงาน  หรือประเมินผลเมื่อสิ้นปีการทำงาน เพื่อพิจารณาความดีความชอบ  การเลื่อนตำแหน่ง  สำหรับการประเมินผลการปฏิบัติงาน  ควรประเมินคุณภาพของงานและประเมินความประพฤติของผู้ปฏิบัติงานด้วย
การจัดการตลาด
                การตลาด เป็นกระบวนการของกิจกรรมอันทำให้สินค้าและบริการจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภค โดยตอบสนองความต้องการและความพึงพอใจของผู้บริโภคภายใต้ระบบผลตอบแทนที่ธุรกิจพอใจ
                แนวความคิดทางการตลาดที่มุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้า สามารถดำเนินการได้ดังนี้
               1.              ผู้ประกอบการจะต้องรู้จักธุรกิจของตนเองเป็นอย่างดีก่อนเริ่มต้นธุรกิจ
               2.              ศึกษาความต้องการและความจำเป็นของลูกค้า เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก
               3.              วิเคราะห์กลุ่มลูกค้าเป้าหมายและลักษณะของลูกค้า
               4.              วิเคราะห์กลยุทธ์ของคู่แข่งขัน
              กลยุทธ์การตลาด เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ทางการตลาด  ผู้บริหารสามารถใช้ส่วนประสม
ทางการตลาด  คือ
              1.              ผลิตภัณฑ์  (Product)  หมายถึง  สินค้า และบริการ ที่มุ่งสร้างความพึงพอใจให้กับผู้บริโภค            การ
นำเสนอผลิตภัณฑ์ให้ลูกค้าพอใจนั้น  บรรจุภัณฑ์มีความสำคัญมาก  เพราะเป็นสิ่งแรกที่จะทำให้ผู้บริโภครับรู้ และสามารถสร้างคุณค่าให้กับลูกค้าธุรกิจได้
              2.              ราคา  (Price) หมายถึง  คุณค่าของผลิตภัณฑ์ในรูปของตัวเงิน  ราคาที่เหมาะสมจะต้องเป็นราคาที่ลูกค้า
พึงพอใจ  ขณะเดียวกันกิจการสามารถทำยอดขายและทำกำไรได้  ผู้ประกอบการจะต้องตัดสินใจตั้งราคาโดยพิจารณาจากสภาพการแข่งขัน  ความต้องการของลูกค้าและต้นทุนเป็นสำคัญ
             3.              การจัดจำหน่าย ( Place)  เป็นช่องทางการจัดจำหน่ายและกระจายสินค้าไปยังผู้บริโภค   ผู้ประกอบการ
จะต้องเลือกช่องทางการจัดจำหน่ายให้เหมาะสมกับชนิดของผลิตภัณฑ์และลูกค้าเป้าหมาย  เช่น    การเลือกช่องทาง
ตรง  หมายถึง  ผู้ผลิตขายผลิตภัณฑ์ให้กับผู้บริโภคโดยตรง      และช่องทางอ้อม  หมายถึง  ผู้ผลิตผ่านพ่อค้าคนกลาง   
คือ  พ่อค้าส่ง  พ่อค้าปลีก นายหน้าหรือตัวแทนจำหน่าย    การวิเคราะห์ช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไปสู่ตลาด
เป้าหมายด้วยวิธีการที่รวดเร็วที่สุดและสิ้นเปลืองน้อยที่สุด
           4.              การส่งเสริมการตลาด  ( Promotion)  เป็นการสื่อสารทางการตลาดเพื่อแจ้งข่าวสาร และจูงใจให้เกิด
พฤติกรรมการซื้อ  ตลอดจนเตือนความทรงจำเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ให้กับผู้บริโภค    สามารถทำได้ด้วยการโฆษณา
การขายโดยใช้พนักงานขาย  การส่งเสริมการขายและการประชาสัมพันธ์
                การจัดการตลาดมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้สินค้าและบริการผ่านมือจากผู้ผลิตไปสู่มือผู้บริโภค         โดยสร้าง
กำไรให้แก่ผู้ผลิต  คนกลาง  และสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้บริโภค                 กลยุทธ์ทางการตลาดจึงเน้นการจัด
ส่วนประสมทางการตลาด ได้แก่  ผลิตภัณฑ์  การกำหนดราคา การจัดจำหน่าย  การส่งเสริมการตลาดที่เหมาะสม
เพื่อตอบสนองความพึงพอใจของผู้บริโภคได้อย่างแท้จริง
การจัดการเงินทุน
                การจัดการธุรกิจ    การจัดการเงินทุนเป็นเรื่องที่สำคัญ    ผู้ประกอบการจะต้องมีความสามารถพิจารณา
ความต้องการเงินทุน  การหาแหล่งเงินทุน  การใช้เงินทุนให้เป็นประโยชน์  และการคืนทุนที่กู้ยืม ฯลฯ
                การกำหนดความต้องการทางการเงิน  แบ่งออกเป็น  3  ประเภท  คือ
              1.              เงินทุนสำหรับจัดตั้งธุรกิจ  ซึ่งเป็นเงินทุนขั้นต้นที่จะนำมาใช้จ่ายเกี่ยวกับการเช่าสถานที่         การ
ซ่อมแซมและปรับปรุงร้าน   ค่าอุปกรณ์และเครื่องใช้สำนักงาน    เงินทุนสำหรับจัดซื้อสินค้า    เพื่อเริ่มต้นธุรกิจ 
ค่าสิทธิบัตร  ค่าธรรมเนียม  ค่าประกันภัย  ค่าใบอนุญาต ฯลฯ
             2.              เงินทุนสำหรับการเริ่มต้นธุรกิจ  เป็นเงินทุนในส่วนของค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าจ้างพนักงาน        การ
ส่งเสริมการขาย  ฯลฯ
             3.              เงินทุนในการดำเนินงาน        เป็นความต้องการเงินทุนหมุนเวียนสำหรับใช้ในการประกอบธุรกิจ
ผู้ประกอบการจะต้องจัดการควบคุมมิให้เกิดการขาดแคลนเงินสดหรือขาดสภาพคล่อง         มีเงินทุนหมุนเวียน
เพียงพอที่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงธุรกิจได้
                โดยทั่วไปแหล่งเงินทุนในการประกอบธุรกิจ  ผู้ประกอบการสามารถหามาได้จาก 3 แหล่ง คือ
                1.  เงินทุนส่วนบุคคล   คือ เงินออมส่วนตัวของผู้ประกอบการหรือการกู้ยืมจากญาติพี่น้อง
               2.  เงินทุนจากผู้ขาย  ได้แก่  แหล่งเงินทุนที่มีลักษณะเป็นสินเชื่อทางการค้า  หรือเจ้าหนี้ทาการค้า  โดย
การให้เครดิตสินค้าหรือุปกรณ์เพื่อขาย ฯลฯ
            3.   แหล่งเงินทุนจากธนาคารพาณิชย์  ได้แก่  การกู้ยืมวงเงินสินเชื่อหมุนเวียน     เช่น   นำไปซื้อสินค้า
และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ  การให้สินเชื่อระยะยาว  เป็นการให้กู้ยืมเพื่อซื้อทรัพย์สินถาวร เช่น  เครื่องจักร หรือก่อสร้าง
โรงงาน  เป็นต้น
                 การประกอบธุรกิจจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้จากข้อคิดเห็นของผู้ประกอบธุรกิจที่ประสบความ
สำเร็จ  คือ             
              1.    ต้องมีความรู้ความชำนาญในการประกอบธุรกิจ  ผู้ประกอบการจะต้องมีความรู้ความชำนาญและ
ประสบการณ์มาก่อนแล้ว   ต้องหมั่นหาความรู้และประสบการณ์ใหม่ ๆ  เพิ่มเติม  ได้แก่  ความรู้เกี่ยวกับสินค้า
ความรู้เกี่ยวกับการสั่งซื้อสินค้า  ความรู้เกี่ยวกับการขายและการรักษาลูกค้า      ตลอดจนความรู้เกี่ยวกับการเงิน
และบัญชี ฯลฯ  อย่างไรก็ตามการมีประสบการณ์และความรู้ไม่ถือว่าเป็นสิ่งที่เพียงพอ  ผุ้ประกอบการจะต้องใช้
ประสบการณ์ให้เกิดประโยชน์      เช่น       การถ่ายทอดประสบการณ์และมอบอำนาจหน้าที่ให้เขจ้าหน้าที่หรือ
พนักงานช่วยกันบริหารกิจการไม่ใช่ทำเองทั้งหมด  กรณีนี้จะทำธุรกิจไม่เจริญก้าวหน้าเท่าที่ควร       ผู้ที่มีความ
ตั้งใจแต่มีความรู้และประสบการณ์น้อยสามารถที่จะเรียนรู้โดยวิธีการต่าง ๆ เช่น  เรียนรู้จากตำราหรือสื่อต่าง ๆ
เข้าร่วมอบรมสัมมนา
              2.              เริ่มต้นธุรกิจจากเงินทุนของตนเอง   การเริ่มต้นธุรกิจด้วยเงินกู้ยืมย่อมไม่ใช่วิธีการที่ดี  เพราะ
การลงทุนน้อยแต่กู้ยืมมากจะทำให้กำไรหายไป  กำไรที่ผู้ประกอบการควรจะได้ จึงตกอยู่ในมือของเจ้าของเงินกู้ใน
รูปของดอกเบี้ย  ผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จในการเริ่มลงทุนจึงต้องเป็นผู้ที่ยอมทำงานหนักและใช้จ่าย
อย่างประหยัด  ดังนั้นผู้เริ่มต้นประกอบธุรกิจควรคำนึงถึงในหลักการปฏิบัติดังต่อไปนี้   ประมาณการค่าใช้จ่าย
ที่จะเกิดขึ้นทั้งหมดอย่างละเอียด   การกำหนดราคาขาย  การหาจุดคุ้มทุน      กำหนดกลยุทธ์การบริหารงานขาย 
นอกจากนี้ควรพิจารณาว่าธุรกิจได้รับความเชื่อถือจากเจ้าหนี้มากน้อยเพียงใด  มีสถาบันการเงินใดให้สินเชื่อบ้าง
             3.        การเลือกทำเลที่ตั้ง โดยทั่วไปคนจะเข้าใจอยุ่เสมอว่าทำเลที่ตั้งที่ดีเป้นเรื่องจำเป็นสำหรับการค้าปลีก
เท่านั้น  ร้านค้าส่งและโรงงานอุตสาหกรรมก็มีความจำเป้ฯที่จะต้องเลือกทำเลที่ตั้งให้เหมาะสมด้วย    เพราะทำเล
ที่ดีจะทำให้ลูกค้ามาติดต่อได้สะดวก  การขนส่งสะดวกและรวดเร็ว  เป็นต้น
             4.      ความชำนาญในการซื้อสินค้า      คุณสมบัติสำคัญของผู้ที่มีความชำนาญในการซื้อสินค้าจะต้องรู้
ตลาดของลูกค้าและตลาดของผู้ขายสินค้า  ต้องรู้จักสร้างอำนยาจการซื้อ  ซึ่งหมายถึงวความสามารถในการซื้อ
สินค้าเป็นเงินเชื่อได้ทุกเวลาที่ต้องการ
               5.   การควบคุมเงินทุนหมุนเวียน   ธุรกิจแต่ละประเภทมีความต้องการระดับเงินทุนหมุนเวียนแตกต่าง
กันไป  เมื่อนำเงินไปซื้อสินทรัพย์ถาวร  เงินทุนหมุนเวียนจะลดลงทันทั  ผลที่ตามมาก็คือ   ขาดสภาพคล่องทาง
การเงิน   มีเงินไม่เพียงพอชำระหนี้ทางการค้า         ธุรกิจที่ขยายตัวอยู่ตลอดเวลาจำเป็นต้องใช้เงินทุนหมุนเวียน
ากขึ้นเสมอ
            6.   บริหารการขายเชื่ออย่างมีประสิทธิภาพ  ปกติการาขายเชื่อจะมีกำไรมากกว่าการขายเป็นเงินสด 
เพราะมีความเสี่ยงและอาจเกิดหนี้สูญ   นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเรียกเก็ยบและติดตาม
หลักากรสำคัญของการขายเชื่อคือ  ต้องพิจารณาว่ามีเงินทุนเพียงพอ  เพราะเงินทุนจะถูกเปลี่ยนสภาพออกมาใน
รูปของลูกหนี้  ทำให้สภาพคล่องทางการเงินลดน้อยลง          นอกจากนี้ต้องพิจารณาประสิทธิภาพในการจัดเก็บ
เมื่อครบกำหนดชำระหนี้  
                7.   ใช้จ่ายเงินด้วยความระมัดระวัง   ปัญหาเบื้องต้นสำหรับกาทรประกอบุรกิจ คือ  เจ้าของกิจการควร
ได้รับเงินเดือน  หรือค่าใช้จ่ายจากการบริหารงานเป็นจำนวนเท่าใด  แลถะจะจ้างพนักงานในอัตราเงินเดือนเท่าใด
จึงจะเหมาะสม